วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ลักษณะภูมิอากาศ


                                                                                                
     จังหวัดมหาสารคามมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical Monsoon Climate) ในช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงมรสุมฤดูร้อนจะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทำให้เกิดฝนตก สำหรับปริมาณน้ำฝนที่พื้นบริเวณจังหวัดได้รับนั้น ส่วนมากจะเกิดจากผลกระทบของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามและเข้าสู่ประเทศไทย ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปถึงเดือน พฤษภาคม อุณหภูมิค่อนข้างร้อนอบอ้าว ฤดูร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 39.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 39 – 42 องศาเซลเซียสโดยอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540 – 2545) วัดได้ 42.0 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2544 และในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดลงต่ำมาก ประมาณ 5 – 12.5 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540 – 2545) วัดได้ 5.3 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542
     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 14.68 องศา เซลเซียส ได้รับลมหนาวจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีลมแรงและหนาวมาก อากาศหนาวเย็นจัด มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่ง กำเนิดบริเวณขั้วโลกเหนือพัดผ่านไซบีเรีย และผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีนมาสู่ประเทศไทย ทำให้อากาศหนาวเย็นตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
     ฤดูฝน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ประมาณกลางเดือนตุลาคม ในปี 2544 มีปริมาณน้ำฝนทั้งหมด 1,269.9 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่า ปี 2542 และ 2543 ที่มีปริมาณน้ำฝนเท่ากับ 1,348.5 และ 1,580.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับปีที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540-2545) คือ ปี 2543 วัดปริมาณน้ำฝนทั้งปีได้เท่ากับ 1,580.7 มิลลิเมตร หรือเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 11,279.83 มม. และฝนตกหนักที่สุดในเดือน พฤษภาคม 2543 วัดได้ 385.6 มิลลิเมตร มีจำนวนวันที่ฝนตกทั้งหมดเท่ากับ 100 วัน และในปี 2545 ปริมาณฝนทั้งหมด ตั้งแต่เดือน มค. - ก. ย. วัดปริมาณน้ำฝนได้ 1,212.6 มิลลิเมตร


ที่มา  http://www.phayakapumpisai.mahasarakham.police.go.th/page_1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น