วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

จังหวัดมหาสารคาม






ตำแหน่งสีแดงเป็นตำแหน่งที่อยู่ของจังหวัดมหาสารคาม

หอนาฬิกาจังหวัดมหาสารคาม



 














ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

ต้นพฤกษ์




ต้นไม้ประจำจังหวัด      มหาสารคาม
ชื่อพันธุ์ไม้                 พฤกษ์
ชื่อสามัญ                  Siris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์         Albizia lebbeck Benth 
วงศ์                        LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                    ก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ), กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อนนา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะ                เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่อง 
ทั่วไป                  ยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์             โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม    สภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิด              ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย




 ที่มา  http://www.panmai.com

ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)

 

ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ดอกไม้ประจำจังหวัด       มหาสารคาม
ชื่อดอกไม้                    ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ชื่อสามัญ                      Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์              Plumeria ssp.
วงศ์                             APOCYNACEAE
ชื่ออื่น                          ลีลาวดี, จำปาขาว
ลักษณะทั่วไป                ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ
                                  มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็นช่อช่อละ หลาย
                                  ดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น
                                  สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์                ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม            แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด                      อเมริกาใต้

ตราประจำจังหวัดมหาสารคาม






สัญลักษณ์:

  -  เป็นรูปต้นไม้ใหญ่และนาข้าว
ความหมาย:

   -  หมายถึง พื้นที่ใน จังหวัดนี้ อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร นอกจากการทำนาแล้ว ชาวเมืองยังมี อาชีพอีก หลายอย่าง เช่น ทำเกลือสินเธาว์ ไร่ฝ้าย ยาสูบ และเลี้ยงไหม

อักษรย่อจังหวัดมค.

คำขวัญจังหวัดมหาสารคาม

 พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
(คำขวัญจังหวัดมหาสารคาม)
  • พุทธมณฑลอีสาน หมายถึง พระธาตุนาดูนที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่โคกดงเค็ง ที่ป่าสาธารณะ ตำบลนาดูนและตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้เป็นพุทธมณฑลอีสาน เมื่อ พ.ศ.2530
  • ถิ่นฐานอารยธรรม หมายถึง เป็นถิ่นฐานที่ตั้งเมืองโบราณหลายแห่ง ได้แก่ เมืองนครจำปาศรี เมืองคันธารวิสัย เมืองโบราณที่ค้นพบบริเวณบ้านเชียงเหียนและบ้านแกดำ
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า หมายถึง เป็นเมืองที่มีการทอผ้าพื้นเมืองกันมากทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าไหมของจังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัด หนึ่งที่มีคุณภาพดีที่สุดซึ่งสามารถทำรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้เป็นจำนวนมากพอสมควรในแต่ละปี
  • ตักศิลานคร หมายถึง จังหวัดที่มีสถานศึกษามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มีสถานระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ระดับ อาชีวศึกษา3แห่ง และการศึกษาในระบบโรงเรียนอีก666แห่ง

                 จุดเด่นความเป็น "ตักสิลานคร" ที่จังหวัดมหาสารคามมีสถาบันการศึกษาระดับสูงสุดหลายแห่ง  สามารถผลิตทรัพยากรแรงงานระดับคุณภาพที่จะตอบสนองความต้องการทางเทคโนโลยีและธุรกิจได้  สามารถผลิตบุคคลากรสายอาชีพครูระดับปริญญาโทและปริญญาตรี  และยังสามารถผลิตบุคลากรสายช่างสาขาต่างๆ ในระดับ ปวช.  ปวส.  และบุคลากรในด้านพาณิชย์บัญชีและคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ ปวช.  ปวส.  ปริญญาตรี  และปริญญาโท   (สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)  จึงถือได้ว่าจังหวัดมหาสารคาม เป็นฐานการฝึกอบรมทักษะด้านช่างและด้านการจัดการธุรกิจที่มีศักยภาพสูงจังหวัดหนึ่งในระยะหลังสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสถาบันราชภัฎมหาสารคาม  ซึ่งแต่เดิมผลิตบุคลากรสายอาชีพครูเป็นหลัก  ได้เริ่มเน้นที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  และการจัดการธุรกิจมากยิ่งขึ้น  ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาประเทศ  จึงเป็นจุดเด่นของมหาสารคาม  ที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและฝึกอบรมฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคและประเทศได้

 ที่มา  http://www.taksilanakhon.comn

ลักษณะภูมิอากาศ


                                                                                                
     จังหวัดมหาสารคามมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical Monsoon Climate) ในช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงมรสุมฤดูร้อนจะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทำให้เกิดฝนตก สำหรับปริมาณน้ำฝนที่พื้นบริเวณจังหวัดได้รับนั้น ส่วนมากจะเกิดจากผลกระทบของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามและเข้าสู่ประเทศไทย ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปถึงเดือน พฤษภาคม อุณหภูมิค่อนข้างร้อนอบอ้าว ฤดูร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 39.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 39 – 42 องศาเซลเซียสโดยอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540 – 2545) วัดได้ 42.0 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2544 และในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดลงต่ำมาก ประมาณ 5 – 12.5 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540 – 2545) วัดได้ 5.3 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542
     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 14.68 องศา เซลเซียส ได้รับลมหนาวจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีลมแรงและหนาวมาก อากาศหนาวเย็นจัด มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่ง กำเนิดบริเวณขั้วโลกเหนือพัดผ่านไซบีเรีย และผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีนมาสู่ประเทศไทย ทำให้อากาศหนาวเย็นตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
     ฤดูฝน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ประมาณกลางเดือนตุลาคม ในปี 2544 มีปริมาณน้ำฝนทั้งหมด 1,269.9 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่า ปี 2542 และ 2543 ที่มีปริมาณน้ำฝนเท่ากับ 1,348.5 และ 1,580.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับปีที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540-2545) คือ ปี 2543 วัดปริมาณน้ำฝนทั้งปีได้เท่ากับ 1,580.7 มิลลิเมตร หรือเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 11,279.83 มม. และฝนตกหนักที่สุดในเดือน พฤษภาคม 2543 วัดได้ 385.6 มิลลิเมตร มีจำนวนวันที่ฝนตกทั้งหมดเท่ากับ 100 วัน และในปี 2545 ปริมาณฝนทั้งหมด ตั้งแต่เดือน มค. - ก. ย. วัดปริมาณน้ำฝนได้ 1,212.6 มิลลิเมตร


ที่มา  http://www.phayakapumpisai.mahasarakham.police.go.th/page_1.htm

สภาพภูมิศาสตร์


      จังหวัดมหาสารคาม มีลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ค่อนข้างเรียบถึงลูกคลื่นลาดยาว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130-  230 เมตร มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำชี ลำเสียว ลำพังชู ลักษณะอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26.9 - 28.2   องศาเซลเซียส มีผลตกเฉลี่ยในหนึ่งปี 120 วัน มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งสาธารณูปโภค ที่สำคัญได้แก่
*       แหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดมหาสารคาม มีแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งหมด 236 แห่ง แบ่งเป็น แม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง 191 สาย ซึ่งทั้งหมดใช้ได้ในฤดูแล้ง และมีหนองบึง 45 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มีสภาพใช้ได้ฤดูแล้ง 24 แห่ง อำเภอที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติมากที่สุด คือ อำเภอวาปีปทุมมีแหล่งน้ำ 40 แห่ง แบ่งเป็นแม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง 37 สาย และมีหนอง บึง 3 แห่ง ในขณะที่กิ่งอำเภอชื่นชมมีแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยที่สุด คือ มีเพียงหนองบึง 3 แห่ง เท่านั้น และในจำนวนนี้ไม่สามารถใช้ได้ในฤดูแล้ง
*       ด้านทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดมหาสารคามมีเนื้อที่ป่าไม้ 51,250 ไร่ หรือประมาณ 1.55 % ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด เนื้อที่ป่าถูกบุกรุกทำลายไปเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 20,625 ไร่ ในปี 2541 หรือ ประมาณ 0.62 % ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด ป่าไม้ส่วนมากจะอยู่บริเวณอำเภอบรบือ นาเชือก นาดูน และวาปีปทุม เป็นป่าเบญจพรรณ ที่เรียกว่า"ป่าโคก" ในปี 2543 มีป่าสงวนแห่งชาติ 10 แห่ง มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 7.69 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีวนอุทยาน 2 แห่ง วนอุทยานโกสัมพีและวนอุทยานชีหลงมีสวนรุกชาติ 2 แห่ง คือ สวนรุกชาติพุทธมณฑลและสวนรุกชาติท่าสองคอน
*       แร่ธาตุ จังหวัดมหาสารคามมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ แร่เกลือหิน ซึ่งมีจำนวนมหาศาล ใต้พื้นดินจังหวัดมหาสารคาม เรียกว่า หน่วยหินมหาสารคาม ซึ่งเป็นชั้นเกลือหินหนาจัดอยู่ในกลุ่มหินโคราช กองเศรษฐธรณีวิทยา ได้คำนวณปริมาณเกลือสำรองของแร่เกลือในภาคอีสาน ว่าอยู่ประมาณ 18 ล้านล้านตัน ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคาม มีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเกลือสินเธาว์ จำนวน 16 แห่ง กำลังการผลิตรวมประมาณ 240,000 ตันต่อปี
*       แหล่งน้ำชลประทาน แหล่งน้ำชลประทานในปี 2544 ของจังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่เป็นโครงการชลประทานขนาดเล็กจำนวน 367 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ 116,940 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.50 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด ที่เหลือเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 1 , 18 และ 152 โครงการตามลำดับ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้ประโยชน์ 37,000 , 65,6800 และ 2,280 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.43 , 2.54 และ 0.90 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด ตามลำดับ โดยภาพรวม โครงการชลประทาน ของจังหวัดมหาสารคาม ในปี 2544 มีทั้งหมด 538 โครงการ สามารถเก็บกักน้ำได้ 79.716 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ 221,900 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.58 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของจังหวัด (2,585,064.40 ไร่)
*       บ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น ในปี 2541 จังหวัดมหาสารคาม มีบ่อบาดาลสาธารณะทั้งสิ้น 801 แห่ง คิดเป็นส่วนจำนวน หมู่บ้าน : บ่อบาดาลสาธารณะ เท่ากับ 1 : 0.45 ในขณะที่มีบ่อน้ำตื้นทั้งสิ้น 150 แห่ง
*       สถานีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในปี 2541 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในจังหวัดมหาสารคามแล้ว จำนวน 73 สถานี มีพื้นที่โครงการทั้งสิ้น 184,796 ไร่ และพื้นที่ส่งน้ำ 120,346 ไร่ อำเภอที่มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ามากที่สุด คืออำเภอเมืองมหาสารคามจำนวน 29 สถานี รองลงมา คือ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน จำนวน 20 , 20 และ 4 สถานีตามลำดับ ส่วนอีก 7 อำเภอ และ 2 กิ่งที่เหลือไม่มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า สำหรับพื้นที่โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวมเท่ากับ 184,796 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.15 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่ส่งน้ำรวมเท่ากับ 120,346 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.66 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด


 ที่มา  http://www.phayakapumpisai.mahasarakham.police.go.th/