วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

จังหวัดมหาสารคาม






ตำแหน่งสีแดงเป็นตำแหน่งที่อยู่ของจังหวัดมหาสารคาม

หอนาฬิกาจังหวัดมหาสารคาม



 














ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

ต้นพฤกษ์




ต้นไม้ประจำจังหวัด      มหาสารคาม
ชื่อพันธุ์ไม้                 พฤกษ์
ชื่อสามัญ                  Siris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์         Albizia lebbeck Benth 
วงศ์                        LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                    ก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ), กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อนนา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะ                เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่อง 
ทั่วไป                  ยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์             โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม    สภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิด              ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย




 ที่มา  http://www.panmai.com

ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)

 

ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ดอกไม้ประจำจังหวัด       มหาสารคาม
ชื่อดอกไม้                    ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ชื่อสามัญ                      Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์              Plumeria ssp.
วงศ์                             APOCYNACEAE
ชื่ออื่น                          ลีลาวดี, จำปาขาว
ลักษณะทั่วไป                ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ
                                  มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็นช่อช่อละ หลาย
                                  ดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น
                                  สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์                ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม            แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด                      อเมริกาใต้

ตราประจำจังหวัดมหาสารคาม






สัญลักษณ์:

  -  เป็นรูปต้นไม้ใหญ่และนาข้าว
ความหมาย:

   -  หมายถึง พื้นที่ใน จังหวัดนี้ อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร นอกจากการทำนาแล้ว ชาวเมืองยังมี อาชีพอีก หลายอย่าง เช่น ทำเกลือสินเธาว์ ไร่ฝ้าย ยาสูบ และเลี้ยงไหม

อักษรย่อจังหวัดมค.

คำขวัญจังหวัดมหาสารคาม

 พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
(คำขวัญจังหวัดมหาสารคาม)
  • พุทธมณฑลอีสาน หมายถึง พระธาตุนาดูนที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่โคกดงเค็ง ที่ป่าสาธารณะ ตำบลนาดูนและตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้เป็นพุทธมณฑลอีสาน เมื่อ พ.ศ.2530
  • ถิ่นฐานอารยธรรม หมายถึง เป็นถิ่นฐานที่ตั้งเมืองโบราณหลายแห่ง ได้แก่ เมืองนครจำปาศรี เมืองคันธารวิสัย เมืองโบราณที่ค้นพบบริเวณบ้านเชียงเหียนและบ้านแกดำ
  • ผ้าไหมล้ำเลอค่า หมายถึง เป็นเมืองที่มีการทอผ้าพื้นเมืองกันมากทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าไหมของจังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัด หนึ่งที่มีคุณภาพดีที่สุดซึ่งสามารถทำรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้เป็นจำนวนมากพอสมควรในแต่ละปี
  • ตักศิลานคร หมายถึง จังหวัดที่มีสถานศึกษามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มีสถานระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ระดับ อาชีวศึกษา3แห่ง และการศึกษาในระบบโรงเรียนอีก666แห่ง

                 จุดเด่นความเป็น "ตักสิลานคร" ที่จังหวัดมหาสารคามมีสถาบันการศึกษาระดับสูงสุดหลายแห่ง  สามารถผลิตทรัพยากรแรงงานระดับคุณภาพที่จะตอบสนองความต้องการทางเทคโนโลยีและธุรกิจได้  สามารถผลิตบุคคลากรสายอาชีพครูระดับปริญญาโทและปริญญาตรี  และยังสามารถผลิตบุคลากรสายช่างสาขาต่างๆ ในระดับ ปวช.  ปวส.  และบุคลากรในด้านพาณิชย์บัญชีและคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ ปวช.  ปวส.  ปริญญาตรี  และปริญญาโท   (สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)  จึงถือได้ว่าจังหวัดมหาสารคาม เป็นฐานการฝึกอบรมทักษะด้านช่างและด้านการจัดการธุรกิจที่มีศักยภาพสูงจังหวัดหนึ่งในระยะหลังสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสถาบันราชภัฎมหาสารคาม  ซึ่งแต่เดิมผลิตบุคลากรสายอาชีพครูเป็นหลัก  ได้เริ่มเน้นที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  และการจัดการธุรกิจมากยิ่งขึ้น  ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาประเทศ  จึงเป็นจุดเด่นของมหาสารคาม  ที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและฝึกอบรมฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคและประเทศได้

 ที่มา  http://www.taksilanakhon.comn

ลักษณะภูมิอากาศ


                                                                                                
     จังหวัดมหาสารคามมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Tropical Monsoon Climate) ในช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงมรสุมฤดูร้อนจะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทำให้เกิดฝนตก สำหรับปริมาณน้ำฝนที่พื้นบริเวณจังหวัดได้รับนั้น ส่วนมากจะเกิดจากผลกระทบของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามและเข้าสู่ประเทศไทย ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปถึงเดือน พฤษภาคม อุณหภูมิค่อนข้างร้อนอบอ้าว ฤดูร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 39.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 39 – 42 องศาเซลเซียสโดยอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540 – 2545) วัดได้ 42.0 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2544 และในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดลงต่ำมาก ประมาณ 5 – 12.5 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540 – 2545) วัดได้ 5.3 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542
     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 14.68 องศา เซลเซียส ได้รับลมหนาวจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีลมแรงและหนาวมาก อากาศหนาวเย็นจัด มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่ง กำเนิดบริเวณขั้วโลกเหนือพัดผ่านไซบีเรีย และผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีนมาสู่ประเทศไทย ทำให้อากาศหนาวเย็นตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
     ฤดูฝน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ประมาณกลางเดือนตุลาคม ในปี 2544 มีปริมาณน้ำฝนทั้งหมด 1,269.9 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่า ปี 2542 และ 2543 ที่มีปริมาณน้ำฝนเท่ากับ 1,348.5 และ 1,580.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับปีที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบ 5 ปี ( พ. ศ. 2540-2545) คือ ปี 2543 วัดปริมาณน้ำฝนทั้งปีได้เท่ากับ 1,580.7 มิลลิเมตร หรือเฉลี่ย 5 ปี เท่ากับ 11,279.83 มม. และฝนตกหนักที่สุดในเดือน พฤษภาคม 2543 วัดได้ 385.6 มิลลิเมตร มีจำนวนวันที่ฝนตกทั้งหมดเท่ากับ 100 วัน และในปี 2545 ปริมาณฝนทั้งหมด ตั้งแต่เดือน มค. - ก. ย. วัดปริมาณน้ำฝนได้ 1,212.6 มิลลิเมตร


ที่มา  http://www.phayakapumpisai.mahasarakham.police.go.th/page_1.htm

สภาพภูมิศาสตร์


      จังหวัดมหาสารคาม มีลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ค่อนข้างเรียบถึงลูกคลื่นลาดยาว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130-  230 เมตร มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำชี ลำเสียว ลำพังชู ลักษณะอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26.9 - 28.2   องศาเซลเซียส มีผลตกเฉลี่ยในหนึ่งปี 120 วัน มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งสาธารณูปโภค ที่สำคัญได้แก่
*       แหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดมหาสารคาม มีแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งหมด 236 แห่ง แบ่งเป็น แม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง 191 สาย ซึ่งทั้งหมดใช้ได้ในฤดูแล้ง และมีหนองบึง 45 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้มีสภาพใช้ได้ฤดูแล้ง 24 แห่ง อำเภอที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติมากที่สุด คือ อำเภอวาปีปทุมมีแหล่งน้ำ 40 แห่ง แบ่งเป็นแม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง 37 สาย และมีหนอง บึง 3 แห่ง ในขณะที่กิ่งอำเภอชื่นชมมีแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยที่สุด คือ มีเพียงหนองบึง 3 แห่ง เท่านั้น และในจำนวนนี้ไม่สามารถใช้ได้ในฤดูแล้ง
*       ด้านทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดมหาสารคามมีเนื้อที่ป่าไม้ 51,250 ไร่ หรือประมาณ 1.55 % ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด เนื้อที่ป่าถูกบุกรุกทำลายไปเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 20,625 ไร่ ในปี 2541 หรือ ประมาณ 0.62 % ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด ป่าไม้ส่วนมากจะอยู่บริเวณอำเภอบรบือ นาเชือก นาดูน และวาปีปทุม เป็นป่าเบญจพรรณ ที่เรียกว่า"ป่าโคก" ในปี 2543 มีป่าสงวนแห่งชาติ 10 แห่ง มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 7.69 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีวนอุทยาน 2 แห่ง วนอุทยานโกสัมพีและวนอุทยานชีหลงมีสวนรุกชาติ 2 แห่ง คือ สวนรุกชาติพุทธมณฑลและสวนรุกชาติท่าสองคอน
*       แร่ธาตุ จังหวัดมหาสารคามมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ แร่เกลือหิน ซึ่งมีจำนวนมหาศาล ใต้พื้นดินจังหวัดมหาสารคาม เรียกว่า หน่วยหินมหาสารคาม ซึ่งเป็นชั้นเกลือหินหนาจัดอยู่ในกลุ่มหินโคราช กองเศรษฐธรณีวิทยา ได้คำนวณปริมาณเกลือสำรองของแร่เกลือในภาคอีสาน ว่าอยู่ประมาณ 18 ล้านล้านตัน ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคาม มีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเกลือสินเธาว์ จำนวน 16 แห่ง กำลังการผลิตรวมประมาณ 240,000 ตันต่อปี
*       แหล่งน้ำชลประทาน แหล่งน้ำชลประทานในปี 2544 ของจังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่เป็นโครงการชลประทานขนาดเล็กจำนวน 367 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ 116,940 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.50 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด ที่เหลือเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 1 , 18 และ 152 โครงการตามลำดับ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้ประโยชน์ 37,000 , 65,6800 และ 2,280 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.43 , 2.54 และ 0.90 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด ตามลำดับ โดยภาพรวม โครงการชลประทาน ของจังหวัดมหาสารคาม ในปี 2544 มีทั้งหมด 538 โครงการ สามารถเก็บกักน้ำได้ 79.716 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ 221,900 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.58 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของจังหวัด (2,585,064.40 ไร่)
*       บ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น ในปี 2541 จังหวัดมหาสารคาม มีบ่อบาดาลสาธารณะทั้งสิ้น 801 แห่ง คิดเป็นส่วนจำนวน หมู่บ้าน : บ่อบาดาลสาธารณะ เท่ากับ 1 : 0.45 ในขณะที่มีบ่อน้ำตื้นทั้งสิ้น 150 แห่ง
*       สถานีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในปี 2541 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในจังหวัดมหาสารคามแล้ว จำนวน 73 สถานี มีพื้นที่โครงการทั้งสิ้น 184,796 ไร่ และพื้นที่ส่งน้ำ 120,346 ไร่ อำเภอที่มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ามากที่สุด คืออำเภอเมืองมหาสารคามจำนวน 29 สถานี รองลงมา คือ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน จำนวน 20 , 20 และ 4 สถานีตามลำดับ ส่วนอีก 7 อำเภอ และ 2 กิ่งที่เหลือไม่มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า สำหรับพื้นที่โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวมเท่ากับ 184,796 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.15 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่ส่งน้ำรวมเท่ากับ 120,346 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.66 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด


 ที่มา  http://www.phayakapumpisai.mahasarakham.police.go.th/

ประวัติศาสตร์ มหาสารคาม

 

เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมาหลายร้อยปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจำปาศรี โดยพบหลักฐาน เป็นพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน ชาวไทยย้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก "บ้านลาดกุดยางใหญ่" ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด
ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้นเป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง
ต่อมาสร้างวัดดอนเมืองแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดรวม 41 คน


www.wikipedia.org

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 133 ตำบล 1804 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองมหาสารคาม
  2. อำเภอแกดำ
  3. อำเภอโกสุมพิสัย
  4. อำเภอกันทรวิชัย
  5. อำเภอเชียงยืน
  6. อำเภอบรบือ
  7. อำเภอนาเชือก
  8. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
  9. อำเภอวาปีปทุม
  10. อำเภอนาดูน
  11. อำเภอยางสีสุราช
  12. อำเภอกุดรัง
  13. อำเภอชื่นชม


เมืองมหาสารคาม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม
อำเภอเมืองมหาสารคามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 185 หมู่บ้าน
1.
ตลาด
(Talat)
8.
แก่งเลิงจาน
(Kaeng Loeng Chan)
2.
เขวา
(Khwao)
9.
ท่าสองคอน
(Tha Song Khon)
3.
ท่าตูม
(Tha Tum)
10.
ลาดพัฒนา
(Lat Phatthana)
4.
แวงน่าง
(Waeng Nang)
11.
หนองปลิง
(Nong Pling)
5.
โคกก่อ
(Khok Ko)
12.
ห้วยแอ่ง
(Huai Aeng)
6.
ดอนหว่าน
(Don Wan)
13.
หนองโน
(Nong No)
7.
เกิ้ง
(Koeng)
14.
บัวค้อ
(Bua Kho)
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอแกดำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 89 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
แกดำ
(Kae Dam)
18 หมู่บ้าน
2.
วังแสง
(Wang Saeng)
20 หมู่บ้าน
3.
มิตรภาพ
(Mittraphap)
21 หมู่บ้าน
4.
หนองกุง
(Nong Kung)
16 หมู่บ้าน
5.
โนนภิบาล
(Non Phiban)
14 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอโกสุมพิสัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 17 ตำบล 231 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
หัวขวาง
(Hua Khwang)
21 หมู่บ้าน
10.
เขื่อน
(Khuean)
11 หมู่บ้าน
2.
ยางน้อย
(Yang Noi)
14 หมู่บ้าน
11.
หนองบอน
(Nong Bua)
11 หมู่บ้าน
3.
วังยาว
(Wang Yao)
12 หมู่บ้าน
12.
โพนงาม
(Phon Ngam)
12 หมู่บ้าน
4.
เขวาไร่
(Khwao Rai)
20 หมู่บ้าน
13.
ยางท่าแจ้ง
(Yang Tha Chaeng)
10 หมู่บ้าน
5.
แพง
(Phaeng)
17 หมู่บ้าน
14.
แห่ใต้
(Hae Tai)
19 หมู่บ้าน
6.
แก้งแก
(Kaeng Kae)
10 หมู่บ้าน
15.
หนองกุงสวรรค์
(Nong Kung Sawan)
10 หมู่บ้าน
7.
หนองเหล็ก
(Nong Lek)
20 หมู่บ้าน
16.
เลิงใต้
(Loeng Tai)
12 หมู่บ้าน
8.
หนองบัว
(Nong Bua)
10 หมู่บ้าน
17.
ดอนกลาง
(Don Klang)
11 หมู่บ้าน
9.
เหล่า
(Lao)
11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอกันทรวิชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 183 หมู่บ้าน

1.
โคกพระ
(Khok Phra)
6.
ขามเรียง
(Kham Riang)
2.
คันธารราษฎร์
(Khanthararat)
7.
เขวาใหญ่
(Khwao Yai)
3.
มะค่า
(Makha)
8.
ศรีสุข
(Si Suk)
4.
ท่าขอนยาง
(Tha Khon Yang)
9.
กุดใส้จ่อ
(Kut Sai Cho)
5.
นาสีนวน
(Na Si Nuan)
10.
ขามเฒ่าพัฒนา
(Kham Thao Phatthana)

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเชียงยืนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
เชียงยืน
(Chiang Yuen)
19 หมู่บ้าน
5.
นาทอง
(Na Thong)
11 หมู่บ้าน
2.
หนองซอน
(Nong Son)
16 หมู่บ้าน
6.
เสือเฒ่า
(Suea Thao)
16 หมู่บ้าน
3.
ดอนเงิน
(Don Ngoen)
15 หมู่บ้าน
7.
โพนทอง
(Phon Thong)
12 หมู่บ้าน
4.
กู่ทอง
(Ku Thong)
19 หมู่บ้าน
8.
เหล่าบัวบาน
(Lao Bua Ban)
8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบรบือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 206 หมู่บ้าน

1.
บรบือ
(Borabue)
9.
บัวมาศ
(Bua Mat)
2.
บ่อใหญ่
(Bo Yai)
10.
หนองคูขาด
(Nong Khu Khat)
3.
วังไชย
(Wang Chai)
11.
วังใหม่
(Wang Mai)
4.
หนองม่วง
(Nong Muang)
12.
ยาง
(Yang)
5.
กำพี้
(Kamphi)
13.
หนองสิม
(Nong Sim)
6.
โนนราษี
(Non Rasi)
14.
หนองโก
(Nong Ko)
7.
โนนแดง
(Non Daeng)
15.
ดอนงัว
(Don Ngua)
8.
หนองจิก
(Nong Chik)


การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอนาเชือกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 89 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
นาเชือก
(Na Chueak)
18 หมู่บ้าน
6.
ปอพาน
(Po Phan)
16 หมู่บ้าน
2.
สำโรง
(Samrong)
15 หมู่บ้าน
7.
หนองเม็ก
(Nong Mek)
20 หมู่บ้าน
3.
หนองแดง
(Nong Daeng)
10 หมู่บ้าน
8.
หนองเรือ
(Nong Ruea)
13 หมู่บ้าน
4.
เขวาไร่
(Khwao Rai)
19 หมู่บ้าน
9.
หนองกุง
(Nong Kung)
11 หมู่บ้าน
5.
หนองโพธิ์
(Nong Pho)
12 หมู่บ้าน
10.
สันป่าตอง
(San Pa Tong)
12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 227 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
ปะหลาน
(Palan)
16 หมู่บ้าน
8.
เมืองเตา
(Mueang Tao)
26 หมู่บ้าน
2.
ก้ามปู
(Kam Pu)
17 หมู่บ้าน
9.
ลานสะแก
(Lan Sakae)
19 หมู่บ้าน
3.
เวียงสะอาด
(Wiang Sa-at)
21 หมู่บ้าน
10.
เวียงชัย
(Wiang Chai)
14 หมู่บ้าน
4.
เม็กดำ
(Mek Dam)
22 หมู่บ้าน
11.
หนองบัว
(Nong Bua)
13 หมู่บ้าน
5.
นาสีนวล
(Na Si Nuan)
14 หมู่บ้าน
12.
ราษฎร์พัฒนา
(Rat Phatthana)
14 หมู่บ้าน
6.
ราษฎร์เจริญ
(Rat Charoen)
14 หมู่บ้าน
13.
เมืองเสือ
(Mueang Suea)
11 หมู่บ้าน
7.
หนองบัวแก้ว
(Nong Bua Kaeo)
16 หมู่บ้าน
14.
ภารแอ่น
(Phan Aen)
10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอวาปีปทุมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 240 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
หนองแสง
(Nong Saeng)
28 หมู่บ้าน
9.
นาข่า
(Na Kha)
16 หมู่บ้าน
2.
ขามป้อม
(Kham Pom)
16 หมู่บ้าน
10.
บ้านหวาย
(Ban Wai)
17 หมู่บ้าน
3.
เสือโก้ก
(Suea Kok)
19 หมู่บ้าน
11.
หนองไฮ
(Nong Hai)
17 หมู่บ้าน
4.
ดงใหญ่
(Dong Yai)
16 หมู่บ้าน
12.
ประชาพัฒนา
(Pracha Phatthana)
11 หมู่บ้าน
5.
โพธิ์ชัย
(Pho Chai)
12 หมู่บ้าน
13.
หนองทุ่ม
(Nong Thum)
10 หมู่บ้าน
6.
หัวเรือ
(Hua Ruea)
21 หมู่บ้าน
14.
หนองแสน
(Nong Saen)
10 หมู่บ้าน
7.
แคน
(Khaen)
17 หมู่บ้าน
15.
โคกสีทองหลาง
(Khok Si Thonglang)
11 หมู่บ้าน
8.
งัวบา
(Ngua Ba)
19 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอนาดูนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
นาดูน
(Na Dun)
10 หมู่บ้าน
6.
หัวดง
(Hua Dong)
15 หมู่บ้าน
2.
หนองไผ่
(Nong Phai)
8 หมู่บ้าน
7.
ดงยาง
(Dong Yang)
11 หมู่บ้าน
3.
หนองคู
(Nong Khu)
14 หมู่บ้าน
8.
กู่สันตรัตน์
(Ku Santarat)
9 หมู่บ้าน
4.
ดงบัง
(Dong Bang)
9 หมู่บ้าน
9.
พระธาตุ
(Phra That)
8 หมู่บ้าน
5.
ดงดวน
(Dong Duan)
10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอยางสีสุราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 91 หมู่บ้าน

1.
ยางสีสุราช
(Yang Sisurat)
13 หมู่บ้าน
2.
นาภู
(Na Phu)
17 หมู่บ้าน
3.
แวงดง
(Waeng Dong)
19 หมู่บ้าน
4.
บ้านกู่
(Ban Ku)
9 หมู่บ้าน
5.
ดงเมือง
(Dong Mueang)
9 หมู่บ้าน
6.
ขามเรียน
(Kham Rian)
12 หมู่บ้าน
7.
หนองบัวสันตุ
(Nong Bua Santu)
12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอกุดรังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
กุดรัง
(Kut Rang)
16 หมู่บ้าน
2.
นาโพธิ์
(Na Pho)
21 หมู่บ้าน
3.
เลิงแฝก
(Loeng Faek)
15 หมู่บ้าน
4.
หนองแวง
(Nong Waeng)
14 หมู่บ้าน
5.
ห้วยเตย
(Huai Toei)
19 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอชื่นชมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1.
ชื่นชม
(Chuen Chom)
11 หมู่บ้าน
2.
กุดปลาดุก
(Kut Pla Duk)
15 หมู่บ้าน
3.
เหล่าดอกไม้
(Lao Dok Mai)
11 หมู่บ้าน
4.
หนองกุง
(Nong Kung)
10 หมู่บ้าน