วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช


ประวัติ
เดิมมีชื่อว่า "สวนพฤกษชาติและศูนย์สนเทศพรรณไม้อีสาน" ต่อมามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินการขอจัดตั้งให้เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษ์ พระราชทานนามว่า "สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช" เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535
รายละเอียดการให้บริการ
มีสถานีปฎิบัติการในความรับผิดชอบ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีปฎิบัติการบ้านเกิ้ง ซึ่งมีศูนย์นิเวศวิทยาทางน้ำและศูนย์วิจัยระบบนิเวศป่าบุ่งป่าทาม อีกแห่งคือสถานีปฎิบัติการนาดูนจัดแสดงการถ่านทอดเทคโนดลยีชีวิตคนอีสาน โดยเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ภายในสถานีนาดูนประกอบด้วยอุทยานลานไผ่ ซึ่งมีไผ่นานาชนิดทั้งในและต่างประเทศ หอพรรณไม้อีสาน สวนสมุนไพรและอาคารผลิตแบบครบวงจร พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน ซึ่งจัดแสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชาวอีสาน

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช


อยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุนาดูน  อ.นาดูน  จ.มหาสารคาม
ประกอบด้วยพื้นที่ประมาณ 543 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา หน่วยงานนี้ได้ดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยจัดแสดงการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับชีวิตคนอีสานอันเป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ภายในสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ประกอบด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินงาน 3 หน่วยคืออุทยานลานไผ่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานนี้อยู่ในความควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคามแหล่งรวบรวมไว้ซึ่งพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด รวมทั้งยังมีการวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ ร่วมกันฟื้นฟูอนุรักษ์ และการขยายพันธุ์พืชตระกูลต่างๆ ให้อยู่คู่ผืนป่าแห่งนี้สืบไป ภายในสถาบันฯ จะมีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลทางธรรมชาติ อุทยานลานไผ่ และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งแต่ละแห่งสามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทรงคุณค่ายิ่ง ที่สำคัญเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วย ยิ่งบรรยากาศภายในบริเวณไม่ต้องกล่าวเลยว่าแสนสุขกายใจขนาดไหน
เวลาทำการ
ทุกวันและเวลาราชการ
สถานที่ติดต่อ
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต. ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ : 0 4375 4322-40 ต่อ 1176
,1174 โทรสาร : 0 4375 4247

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น