วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

ต้นพฤกษ์




ต้นไม้ประจำจังหวัด      มหาสารคาม
ชื่อพันธุ์ไม้                 พฤกษ์
ชื่อสามัญ                  Siris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์         Albizia lebbeck Benth 
วงศ์                        LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                    ก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ), กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อนนา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะ                เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่อง 
ทั่วไป                  ยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์             โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม    สภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิด              ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย




 ที่มา  http://www.panmai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น